ทีม สมคิดนักดาบ
ในศูนย์กีฬานันทนิตย์
ภาพประกอบเรื่อง
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง:
Wiradech Kothny & Somkhit Phongyoo
ตั้งแต่ได้แชมป์อันดับสาม จาก โอลิปิก ที่เมืองซีสนี่ย์ วีระเดช วิลลี่ โคธนี่ ก็ได้ย้ายสังกัดจากสมาคมนักฟันดาบประเทศเยอรมัน มาเข้ากับสมาคมฟันดาบสมัครเล่นของประเทศไทย เขาและ ครูฝึก สมคิด พงษ์อยู่ ของเขาก็ได้พยายามเสาะหาสถานที่ ที่เหมาะสมใน กรุงเทพฯสำหรับจะทำเป็นโรงฝึกซ้อม หนึ่งปีเต็มๆกับการพยายามหาแต่ก็ยังไม่พบ ซึ่งบางที่จะมีข้อเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น แสงสว่างไม่เพียงพอในเวลาที่ต้องการจะฝึกซ้อมหรือ บางที่ไม่มีเครื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมในการฝึกซ้อม ผลเสียที่ตามมาก็คือ การหล่นตกจากอันดับอย่างรวดเร็วติดๆกันจากรายชื่อของอันดับโลก

Nanthapop
& Khankhanit
ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น นายหน้าสามีภรรยา นันทภพ และ กันต์กนิษฐ์ ก็กำลังมองหาผู้เช่าที่เหมาะสม ที่จะมาเช่าตึกที่เคยเป็นโรงเรียนพิเศษที่ไม่มีกำไรและกำลังจะยกเลิกของพวกเขาอยู่เช่นกัน แต่ก็ไม่มีโชคพอจะมองเห็นผู้ที่เหมาะสม

Jumras
Junsangsri
จำรัส จูญแสงศรี ซึ่งเป็นพ่อของนักดาบคนหนึ่ง ก็ได้แนะนำและพาให้ทั้งสองฝ่ายมาเจอกัน เป็นความบังเอิญแน่นอนแต่ทว่าทั้งสองฝ่ายก็ไม่ปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไปและได้ร่วมมือกันทำ จำรัส ได้จัดตั้งสมาคมทีมใหม่ขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ทีมสมคิดนักดาบ และนายหน้าสองสามีภรรยาก็ได้อำนวยจัดสถานที่โรงฝึกซ้อมให้แก่ ทีมนักฟันดาบ ทั้งหมดจึงได้ค่อยๆเป็นรูปเป็นร่างขึ้นและได้ใช้ชื่อของ สปอนเซอร์ทั้งสองคน นันทภพ และ กันต์กนิษฐ์ ร่วมกันว่า นันทนิตย์







เงื่อนไขใหญ่ทางวัตถุ:
Somkhit Phongyoo & Jumras Junsangri
สถาปนิกและผู้รับเหมาก่อสร้าง จำรัส จูญแสงศรี ได้วางรากฐานเสาเข็มให้เป็น ศูนย์กีฬา นันทนิตย์ฟันดาบเซ็นเตอร์ เขาสร้างพื้นโลหะแนวช่องเพื่อใช้ฝึกฟันดาบ 4 ช่อง และเมื่อเกือบสามเดือนที่ผ่านมา ครูฝึก สมคิด พงษ์อยู่ ก็จึงได้ทำการฝึกสอนได้เป็นครั้งแรก


Kothny, Kothny & Co.

เมื่อ อีริค โคธนี่ พ่อและผู้จัดการของ วิลลี่ โคธนี่ และ สมคิด พงษ์อยู่ ได้ทราบถึงการการวางแผนการของลูกชายทั้งสองคนของเขาและการเอื้ออำนวยจาก จำรัญ เขาจึงได้เข้าช่วยเหลือในส่วนของเขาทันที เพื่อก่อสร้าง ศูนย์ฝึกซ้อมแห่งนี้ โดยการลงทุนจัดหา เครื่องออกกำลังกายที่จำเป็นต้องใช้และเครื่องออกกำลังกายที่สามารถทำการฝึกซ้อมแบบเจาะจงตามความต้องการมาเพิ่ม

โคลงร่างสำหรับการแข่งรอบสุดท้ายนั้นกำลังอยู่ในขั้น การวางแผนการอยู่ รวมทั้งบริษัท มีทา ของประเทศเยอรมัน ก็รับปากอย่างแน่นอนว่าจะจัดทำตู้ สำหรับใส่เครื่องแต่งกายของนักกีฬา ที่ เมืองเรงคอร์ฟและจะส่งมาให้ที่ กรุงเทพฯ ถึงแม้ว่ายังขาดบางมุมและตอนจบ แต่การฝึกซ้อมและการจัดให้มีการทำการแข่งขัน ใน ศูนย์กีฬา นันทนิตย์ฟันดาบเซ็นเตอร์นั้น ก็ยังดำเนินไปได้แบบจำกัด

สำหรับคนยุโรปนั้นแทบจะนึกภาพไม่ออกเลยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องแต่งกายของนักดาบ ซึ่งราคามันแพงมากกว่าเงินเดือนห้าเดือนของตำรวจเลยทีเดียวสำหรับคนส่วนใหญ่จึงแพงเกินไป
การซื้ออุปกรณ์เครื่องแต่งกายนักดาบของตัวเองนั้นจึงทำได้แบบซื้อผ่อนส่ง มันจึงเป็นโชคดีของ เอสเอฟที (ทีม สมคิดนักดาบ) ที่ วิลลี่ โคธนี่ นั้นได้นำเอาอุปกรณ์เครื่องแต่งกายนักดาบชุดเดิมๆของเขาจาก ประเทศเยอรมันมาให้ เพราะเช่นนั้นจึงเป็นไปได้ที่บางทีในการแข่งขันจะเห็นโคธนี่แข่งขันกันเอง และเมื่อคนไทยเห็นเครื่องหมาย โทโต้ โลทโต้ ที่ติดชุดอยู่ ก็อย่าเข้าใจกันว่า ลอตเตอรี่ย์ ของ เมืองรายแลนด์ มาช่วยเป็นสปอนเซอร์ ใน กรุงเทพฯ นะครับ เพราะว่ามันเป็นเพียงแค่ชุดแต่งกายของ วิลลี่ โคธนี่ นั่นเอง


การร่างแนวความคิด:
ศูนย์กีฬา นันทนิตย์ เซ็นเตอร์ มีเพื่อนักดาบ และ มีอยู่ได้เพราะนักดาบ ถึงรูปที่ติดโชว์นั้นยังคงเป็นรูปของ แชมป์อันดับสามของ โอลิมปิก จากเมือง ซีสนี่ย์ วิลลี่ โคธนี่ แต่ในอนาคตนั้นก็ขึ้นอยู่กับเด็กรุ่นหลังๆ เพราะเช่นนั้น ครูฝึก สมคิด พงษ์อยู่ จึงพยายามสร้างลูกศิษย์รุ่นใหม่ๆขึ้น ซึ่งใน สมาคมนักดาบของ ทีมสมคิดนักดาบ นั้นก็มีการเปิดรับสมัครคนเข้าใหม่สำหรับผู้ที่พร้อมจะเข้ารับการฝึกซ้อมทั้ง 6 วันในหนึ่งสัปดาห์ และได้ประสบความสำเร็จอย่ารวดเร็ว ในงาน การแข่งขันการจัดอันดับรายชื่อของประเทศนั้น นักดาบของเขาประเภทรุ่นเยาว์ก็ชนะติดอันดับ 1-4 และในประเภทระดับมืออาชีพ วิลลี่ โคธนี่ก็ยังคงอยู่ในอันดับที่ 1 เช่นเคย

เพื่อที่จะช่วยให้นักดาบของไทยได้มีประสบการณ์ทางด้านลงแข่งขัน อีริค โคธนี่ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้น โดยตั้งเงินรางวัลสูงถึง 1000 ยูโร จากใน 21 รอบของการแข่งขันจะมี 5 รอบที่ไม่นับ ทั้งนี้เพื่อต้องการจะคัดเอาคนที่มีความสามารถจริงๆ จากงาน นันทนิตย์ฟันดาบ โอเพ็น เป้าหมายนั้นก็คือ ต้องการให้นักดาบของประเทศเชี่ยวชาญและปรับระดับความสามารถให้เข้ามาอยู่ในระดับเดียวกันกับ วิลลี่ โคธนี่ และเพื่อเป็นการทำให้นักดาบรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแข่งขันกันช่วงชิงตำแหน่งแชมป์ของประเทศด้วย อีริค กล่าวว่า ”จากการแข่งขันกันเองนับปีๆเท่านั้น ทีมเล็กๆอย่าง โค๊บเล้น CTG ที่มีนักดาบแค่เพียงครบ 10 คนพอดี ก็สามารถจัดส่งนักดาบแค่เพียง 2 คนเข้าร่วมทีมชาติเยอรมันไปแข่งขัน โอลิมปิก ที่เมือง ซีสนี่ย์ได้ เรื่องแบบนี้นั้นสามารถทำให้เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯ ได้เช่นเดียวกัน”


The vision:


ประเทศไทยนั้นคงไม่สามารถที่จะทำตามจุดมุ่งหมายใหญ่นี้ได้เพียงลำพัง เป้าหมายที่ได้วางไว้นั้นจึงจำเป็นต้องอาศัย เส้นสาย ของ วิลลี่ โคธนี่ ให้ช่วยติดต่อกับผู้ที่เคยช่วยเหลือในประเทศเยอรมันอีกครั้ง แม้ว่าการที่เขาเดินออกมาจากทีมชาติของเยอรมันจะยังมีรอยร้าวเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย แต่ด้วยจากการประสานงาน จากทั้งสองสมาคมฟันดาบ ของทั้งสองประเทศเข้าด้วยกันนั้นจึงเกิดความเป็นหุ้นส่วนกันขึ้น ซึ่งในตอนนี้สำหรับประเทศเยอรมันเองนั้นก็คงยังมองว่ามันไม่น่าสนใจเท่าไหร่นัก แต่ถ้าใครมองไปที่อนาคตก็จะเห็นได้ว่า กีฬาฟันดาบ จะอยู่ในระดับ โอลิมปิกได้นั้นก้ต่อเมื่อเป็นที่รู้จักและยอมรับจากคนทั้งโลก